วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้ง ที่ 6
วันศุกร์ ที่ 7 ธันวาคม 2555  เวลา 14.10-17.30 น.
 บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อนในห้องค่อนข้างพากันมาน้อย แล้วก็ทะยอนพากันเข้ามาเป็นกลุ่มๆ ทำให้เพื่อนในห้องเสียสมาธิในการฟังอาจารย์ และอาจารย์ก็พูดขาดช่วง แต่พอสักพักก็เริ่มลงตัว
การเรียนการสอน
 
- อาจารย์ให้ส่งการบ้านที่สัปดาห์ก่อนส่งไป  ถ้าใครส่งช้าอาจารย์ก็จะไม่รับงาน เพราะอาจารย์จะเริ่มสอนเรื่องใหม่ (งานคู่ นางสาวนุชนารถ ภาคภูมิ กับนางสาวชนนิภา วัฒนาภาเกษม)
- อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง กล่องที่ให้นักศึกษานำมาว่าจะนำกล่องนี้ไปสอนเด็กได้อย่างไร
กล่องสามารถเป็นเครื่องมือในการวัดได้
การเปรียบเทียบขนาดของกล่อง
การจัดกลุ่ม
-จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มละ 11 คน และให้นักศึกษานำกล่องที่เตรียมมาต่อเป็นรูปอะไรก็ได้

โดย
กลุ่มที่ 1 สามารถพูดคุยกันได้ปรึกษาหาลือกันได้ว่าจะทำรูปอะไร
กลุ่มที่ 2 พูดคุยกันได้แต่ลงมาต่อเติมรูปทีละคน
 กลุ่มที่ 3 ห้ามพูดคุยกันแล้วลงมาทำทีละคน
กลุ่มของเราอยู่กลุ่มที่ 1 ซึ่งสามารถพูดคุยปรึกษาหาลือกันได้


 
      ช่วยกันทำช่วยกันคิด
หุ่นยนต์ 2012
เสร็จแล้วจร้าผลงานของกลุ่มเรา
ผลงานของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ต่อเป็นรูปหุ่นยนต์ 2012

กลุ่มที่ 2 ต่อเป็นรูปบ้าน


กลุ่มที่ 3 ต่อเป็นรูปชานชลารถไฟ

 
- อาจารย์ให้ช่วยกันคิดอุปกรณ์ที่สามารถนำมาทำสื่อคณิตศาสตร์ได้

เปลือกหอย, กล่อง, กล่องนม, กระดาษ, ไม้ไอศกรีม, ขวด, กระดุม, ปฏิทิน, ถ้วยปีโป้, ฝาขวด, ไม้เสีบยลูกชิ้น, เปลือกลูกอม

-จนสรุปได้ว่าจะนำฝาขวดน้ำมาประดิษฐ์ กลุ่มเรานำฝาขวดน้ำมาทำเป็นการนับลูกคิด

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา14.10-17.30 น.

 บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้ในห้องเรียนแอร์สบาย อุปกรณ์ในการเรียน การสอนพร้อม การเรียนสนุกดีไม่เครียด มีการตอบสนองกับอาจารย์ได้ดี พออาจารย์ถามเพื่อนๆในห้องก็จะช่วยกันตอบคำถามดี แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ค่อยฟังอาจารย์ แต่อาจารย์ก็ตักเตือน แล้วเปลี่ยนให้เพื่อนที่คุยมานั่งข้างหน้า ทำให้บรรยากาศดีขึ้นมาก

การเรียนการสอน

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องขอบเขตของคณิตศาสตร์ 
ของ อ.นิตยา ประพฤติกิจ 
1.การนับ จำนวน เช่นมีนับเลข เงิน นิ้วมือ ของเด็กในห้อง
2.ตัวเลข คือ การเปรียบเทียบ มากกว่า น้อยกว่า
3การจับคู่ คือ รูปร่าง,รูปทรง จำนวนที่เท่ากัน
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ คือ ให้เด็กลงมือทำจริง จะสอนให้เด็กได้รู้จักลบตัวเลข
6.การจัดลำดับ คือ ค่าปริมาตร เปรียบเทียบ
7.รูปทรงและเนื้อที่
8.การวัด คือ การหาค่าปริมาตร เครื่องมือการวัด
9.เซต คือ ความเชื่อมโยงกัน เซ็ตของเครื่องสำอาง
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย คือ การเรียนรู้พัฒนาตามแบบอย่าง
12.การอนุรักษ์
แล้วเปรียบเทียบกับ เยาวพา  เดชะศุปต์ จะมีความแตกต่างแค่ สถติและกราฟ



วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้ง ที่ 4

วันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-17.30 น.


การเรียนการสอน
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  ดิฉันได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้คือ ร่วมแสดงบนสแตนด์เชียร์และคณะสีส้มของดิฉันได้ อันดับ 1





บรรยากาศของการทำกิจกรรม

มีแดดร้อนมาก แล้วก็มีฝนตกปรอยๆ เป็นช่วงๆ

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้ง ที่ 3

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-17.30 น.


 บรรยากาศในห้องเรียน
  
วันนี้อาจารย์ให้จัดโต๊ะนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน หันหน้าเข้าหากัน
ทำให้ในห้องเสียงดังเล็กน้อยเพราะมีเพื่อนบางคนลากโต๊ะ
แอร์ในห้องเรียนเย็นมากพอเปิดได้สักพักก็ปิด ก็ต้องเปิดพัดลมแทนเพราะมีเพื่อนหนาว  แต่อาจารย์บอกว่าท่านร้อนคราวหน้าห้องเรียนเราน่าจะมีแต่พัดลม






การเรียนการสอน
-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลที่ตนเองได้มา  นำมาคัดกรองเพื่อให้เป็นของกลุ่มเราเอง

หัวข้อที่1 ความหมายของคณิตศาสตร์



หัวข้อที่ 2 จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์


            
•  ทำให้รู้จักคุณค่าของคณิตศาสตร์และเจคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ 

• มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐานและทักษะในการทำงาน

• รู้จักการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผลเป็นระบบ มีแบบแผน และแสดงความคิดอย่างมีระเบียบ ชัดเจน

• สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้ความคิด และทักษะที่ได้จากการเรียนคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้ต่างๆ

• สามารถวิเคราะห์ปํญหา คาดการณ์วางแผนและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ 
(กระทรวงศึกษธิการ,คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,1,2540)
(สุวิทย์ คุณกิตติ และคณะ,คู่มือสอนคณิตศาสตร์,1,2544)
(มหาวิทยาลัยสุโขทันธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะสอนคณิตศาสตร์ ,7,2537)


หัวข้อที่ 3 การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม  การสอน  รูปแบบนี้ต้องการที่จะให้  ครูเปลี่ยนการสอนแบบบรรยาย มาใช้สังเกตุ  การเตรียมการของนักเรียนและจัดกิจกรรม  การเรียนการสอน  ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชา นักทฤษฎี ชื่อ กานเย  ได้กล่าวไว้ว่า แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น  8  ประเภท
(1) การเรียนรู้เครื่องหมายหรือสัญญาณ
(2)การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
(3)การเรียนรู้แบบโซ่
(4)การเรียนรู้โดยการเชื่อมโยง
(5)การเรียนรู้แบบจำแนกความแตกต่าง
(6)การเรียนรู้มโนมติ
(7)การเรียนรู้กฎหรือหลักการ
(8)การเรียนรู้การแก้ปัญหา
( ชัยศักดิ์  ลีลาจรัสกุล , สอนสนุกสร้างสุขสไตล์สาธิต ( ปทุมวัน,234,2550 )
( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนคณิตศ่สตร์เล่ม 1,170,2526)
(กระทรวงศึกษาธิการ,คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นป.6,2,2540)

หัวข้อที่ 4ขอบข่ายคณิตศาสตร์

(1)จำนวน  ตัวเลข  
(2)การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
(3)พื้นฐานทางการวัดมีขอบข่ายเกี่ยวกับการวัด ความยาว การชั่ง การตวง การหาพื้นที่ ปริมาตร ทิศ แผนผัง เวลา วันเดือนปี และเงิน
(4)พื้นฐานทางสถิติ แผนภูมิ
(5)ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
(6)พื้นฐานทางเรขาคณิต เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ รูปเรขาคณิต และรูปทรง
(กระทรวงศึกษาธิการ,สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,5,2544)
(กรมการฝึกหัดครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน,เอกสารประกอบการอบรมครูผู้สอน,6,2537)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์,50,2537)

หัวข้อที่ 5 หลักการสอน

   1.วิธีการสอนโดยเ้ป็นกิจกรรมของผู้ตอบ
   2.วิธีการสอนโดยเป็นกิจกรรมของผู้เรียน
   3.วิธีการสอนโดยเป็นกิจกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
   4. วิธีการสอนโดยเป็นกิจกรรมของระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
   ผู้สอนอาจจะมีสื่อการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมมาประกอบการอธิบายหรือการบอกของครูผู้สอน  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใขยิ่งขึ้น
(ยุพิน พิพิธกุล  การนิเทศการสอนคณิตศาสตร์ 4,122,2544)
(สุวรรณ  กาญจนมยูร เทคนิคการใช้สื่อและเกมคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา 4,3,2551)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนคณิตศาสตร์เล่ม 2  4,134,2536)
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวนุชนารถ  ภาคภูมิ
2.นางสาวจารุวรรณ  ม่วงมิตร
3.นางสาวสุกานดา  ชูสนิท

-จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มให้ตัวแทนของกลุ่มอ่านงานที่กลุ่มของตนเองได้ทำ

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้ง ที่2

การเข้าเรียนครั้ง ที่ 2

วันศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-15.30 น.

บรรยากาศในห้องเรียน
 ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย เปิดแอร์หนาวไปหน่อย อุปรกณ์การเรียนการสอนก็พร้อมที่จะเรียน
การสอน สนุกสนาน  อาจารย์ได้ให้แสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ แล้วช่วยกันตอบได้ดี


การเรียนการสอน
-อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละแผ่น  ให้เขียนตามคำบอก เป็นภาษาอังกฤษ


- อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องนักทฤษฎีตามหลักด้านสติปัญญา นั้นก็คือ เพียเจต์ และบรูเนอร์ ว่า คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา จึงยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบตัวเราในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้าง



-แล้วอาจารย์ได้สั่งงานให้ไปค้นคว้าหาหนังสือคณิตศาสตร์อะไรก็ได้ที่สำนักวิทยบริการ 2-3เล่ม
จะต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-หาความหมายของคณิตศาสตร์ 1เล่ม ต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-หาจุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์ ต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
-ขอบข่ายของคณิตศาสาตร์
-หลักการสอนของคณิตศาสตร์



วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน  ครั้งที่1

 วันศุกร์ ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-17.30 น.



การเรียน การสอน


1. ให้เขียนความหมายของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตาม ความเข้าใจมา 2 ประโยค

2. ให้เขียนสิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากการเรียนวิชานี้

- อาจารย์ให้ร่วมกันตกลงว่างานบล็กนี้จะให้อาจารย์ปล่อยก่อน 40 นาทีเพื่อไปทำบล็อก หรือว่าเรียนเต็มกลับไปทำที่บ้าน ทุกคนบอกว่าปล่อยก่อน 40 นาที เเละอาจารย์ก็จะตรวจดูความคืบหน้าของบล็อกที่ทำทุกวันเสาร์ 17.00น.

- การวางเเผน พูดคุยกันถึงการเพิ่มเติมเวลาเรียนที่เราอาจจะมีไม่เพียงพอ และการเข้าพออาจารย์ที่ปรึกษาในอีก 3 สัปดาห์



     ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


                     1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


1.1 พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ ตามลำดับขั้น คือ

1.1.1 ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นขั้นพัฒนาการในช่วงอายุ 0 – 2 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้และการกระทำ เด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางและยังไม่สามารถเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น

1.1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 2 – 7 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่สามารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ การใช้ภาษาแบ่งเป็นขั้นย่อย ๆ 2 ขั้น คือ ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 2 – 4 ปี และขั้นการคิดด้วยความเข้าใจของตนเอง เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 4 – 7 ปี

1.1.3 ขั้นการคิดแบบรูปธรรม เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 7 – 11 ปี เป็นขั้นที่การคิดของเด็กไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กสามารถสร้างภาพในใจและสามารถคิดย้อนกลับได้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขและสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น

1.1.4 ขั้นการคิดแบบนามธรรม เป็นขั้นการพัฒนาในช่วงอายุ 11 – 15 ปี เด็กสามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถคิดตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
              2.ทฤษฎีการเรียนการสอนของบรูเนอร์

1.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
 2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
 3) การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 
4) แรงจูงใจภายใน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 
5) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
 6) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนด้วยตนเอง


2.1 ที่มีประสบการณ์ตรงและสัมผัสได้ เช่น ผู้เรียนรวมของ 4 ชิ้น กับ ของ 5 ชิ้น เพื่อเป็นของ 9 ชิ้น ซึ่งเป็นการสัมผัสกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม

2.2 ระดับของการใช้ภาพเป็นสื่อในการมองเห็น เช่น การใช้รูปภาพ ไดอะแกรม ฟิล์ม ที่เป็นสื่อทางสายตา ตัวอย่างการเรียนรู้ระดับนี้ เช่น ผู้เรียนดูภาพรถ 4 คัน ในภาพแรก ดูภาพรถ 5 คัน ในภาพที่สอง และดูภาพรถรวม 9 คัน ในภาพที่สามซึ่งเป็นภาพรวมของรถในภาพที่หนึ่งและภาพที่สอง รถ 9 คันนี้เกิดจากการที่ผู้สอนวางแผนให้ผู้เรียนเรียนรู้ มิใช่เกิดจากตัวของผู้เรียนเอง

3.3 ระดับของการสร้างความสัมพันธ์และใช้สัญลักษณ์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถเขียนสัญลักษณ์แทนสิ่งที่เห็นในระดับที่สอง หรือสิ่งที่สัมผัสในระดับที่หนึ่งได้ เช่น การเขียน 5 + 4 = 9 เป็นสัญลักษณ์แทนภาพในระดับที่ 2