วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้ง ที่ 4

วันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-17.30 น.


การเรียนการสอน
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  ดิฉันได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้คือ ร่วมแสดงบนสแตนด์เชียร์และคณะสีส้มของดิฉันได้ อันดับ 1





บรรยากาศของการทำกิจกรรม

มีแดดร้อนมาก แล้วก็มีฝนตกปรอยๆ เป็นช่วงๆ

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้ง ที่ 3

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-17.30 น.


 บรรยากาศในห้องเรียน
  
วันนี้อาจารย์ให้จัดโต๊ะนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน หันหน้าเข้าหากัน
ทำให้ในห้องเสียงดังเล็กน้อยเพราะมีเพื่อนบางคนลากโต๊ะ
แอร์ในห้องเรียนเย็นมากพอเปิดได้สักพักก็ปิด ก็ต้องเปิดพัดลมแทนเพราะมีเพื่อนหนาว  แต่อาจารย์บอกว่าท่านร้อนคราวหน้าห้องเรียนเราน่าจะมีแต่พัดลม






การเรียนการสอน
-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลที่ตนเองได้มา  นำมาคัดกรองเพื่อให้เป็นของกลุ่มเราเอง

หัวข้อที่1 ความหมายของคณิตศาสตร์



หัวข้อที่ 2 จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์


            
•  ทำให้รู้จักคุณค่าของคณิตศาสตร์และเจคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ 

• มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐานและทักษะในการทำงาน

• รู้จักการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผลเป็นระบบ มีแบบแผน และแสดงความคิดอย่างมีระเบียบ ชัดเจน

• สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้ความคิด และทักษะที่ได้จากการเรียนคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้ต่างๆ

• สามารถวิเคราะห์ปํญหา คาดการณ์วางแผนและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ 
(กระทรวงศึกษธิการ,คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,1,2540)
(สุวิทย์ คุณกิตติ และคณะ,คู่มือสอนคณิตศาสตร์,1,2544)
(มหาวิทยาลัยสุโขทันธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะสอนคณิตศาสตร์ ,7,2537)


หัวข้อที่ 3 การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม  การสอน  รูปแบบนี้ต้องการที่จะให้  ครูเปลี่ยนการสอนแบบบรรยาย มาใช้สังเกตุ  การเตรียมการของนักเรียนและจัดกิจกรรม  การเรียนการสอน  ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชา นักทฤษฎี ชื่อ กานเย  ได้กล่าวไว้ว่า แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น  8  ประเภท
(1) การเรียนรู้เครื่องหมายหรือสัญญาณ
(2)การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
(3)การเรียนรู้แบบโซ่
(4)การเรียนรู้โดยการเชื่อมโยง
(5)การเรียนรู้แบบจำแนกความแตกต่าง
(6)การเรียนรู้มโนมติ
(7)การเรียนรู้กฎหรือหลักการ
(8)การเรียนรู้การแก้ปัญหา
( ชัยศักดิ์  ลีลาจรัสกุล , สอนสนุกสร้างสุขสไตล์สาธิต ( ปทุมวัน,234,2550 )
( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนคณิตศ่สตร์เล่ม 1,170,2526)
(กระทรวงศึกษาธิการ,คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นป.6,2,2540)

หัวข้อที่ 4ขอบข่ายคณิตศาสตร์

(1)จำนวน  ตัวเลข  
(2)การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
(3)พื้นฐานทางการวัดมีขอบข่ายเกี่ยวกับการวัด ความยาว การชั่ง การตวง การหาพื้นที่ ปริมาตร ทิศ แผนผัง เวลา วันเดือนปี และเงิน
(4)พื้นฐานทางสถิติ แผนภูมิ
(5)ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
(6)พื้นฐานทางเรขาคณิต เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ รูปเรขาคณิต และรูปทรง
(กระทรวงศึกษาธิการ,สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,5,2544)
(กรมการฝึกหัดครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน,เอกสารประกอบการอบรมครูผู้สอน,6,2537)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์,50,2537)

หัวข้อที่ 5 หลักการสอน

   1.วิธีการสอนโดยเ้ป็นกิจกรรมของผู้ตอบ
   2.วิธีการสอนโดยเป็นกิจกรรมของผู้เรียน
   3.วิธีการสอนโดยเป็นกิจกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
   4. วิธีการสอนโดยเป็นกิจกรรมของระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
   ผู้สอนอาจจะมีสื่อการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมมาประกอบการอธิบายหรือการบอกของครูผู้สอน  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใขยิ่งขึ้น
(ยุพิน พิพิธกุล  การนิเทศการสอนคณิตศาสตร์ 4,122,2544)
(สุวรรณ  กาญจนมยูร เทคนิคการใช้สื่อและเกมคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา 4,3,2551)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนคณิตศาสตร์เล่ม 2  4,134,2536)
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวนุชนารถ  ภาคภูมิ
2.นางสาวจารุวรรณ  ม่วงมิตร
3.นางสาวสุกานดา  ชูสนิท

-จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มให้ตัวแทนของกลุ่มอ่านงานที่กลุ่มของตนเองได้ทำ

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้ง ที่2

การเข้าเรียนครั้ง ที่ 2

วันศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-15.30 น.

บรรยากาศในห้องเรียน
 ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย เปิดแอร์หนาวไปหน่อย อุปรกณ์การเรียนการสอนก็พร้อมที่จะเรียน
การสอน สนุกสนาน  อาจารย์ได้ให้แสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ แล้วช่วยกันตอบได้ดี


การเรียนการสอน
-อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละแผ่น  ให้เขียนตามคำบอก เป็นภาษาอังกฤษ


- อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องนักทฤษฎีตามหลักด้านสติปัญญา นั้นก็คือ เพียเจต์ และบรูเนอร์ ว่า คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา จึงยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบตัวเราในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้าง



-แล้วอาจารย์ได้สั่งงานให้ไปค้นคว้าหาหนังสือคณิตศาสตร์อะไรก็ได้ที่สำนักวิทยบริการ 2-3เล่ม
จะต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-หาความหมายของคณิตศาสตร์ 1เล่ม ต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-หาจุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์ ต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
-ขอบข่ายของคณิตศาสาตร์
-หลักการสอนของคณิตศาสตร์



วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน  ครั้งที่1

 วันศุกร์ ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14.10-17.30 น.



การเรียน การสอน


1. ให้เขียนความหมายของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตาม ความเข้าใจมา 2 ประโยค

2. ให้เขียนสิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากการเรียนวิชานี้

- อาจารย์ให้ร่วมกันตกลงว่างานบล็กนี้จะให้อาจารย์ปล่อยก่อน 40 นาทีเพื่อไปทำบล็อก หรือว่าเรียนเต็มกลับไปทำที่บ้าน ทุกคนบอกว่าปล่อยก่อน 40 นาที เเละอาจารย์ก็จะตรวจดูความคืบหน้าของบล็อกที่ทำทุกวันเสาร์ 17.00น.

- การวางเเผน พูดคุยกันถึงการเพิ่มเติมเวลาเรียนที่เราอาจจะมีไม่เพียงพอ และการเข้าพออาจารย์ที่ปรึกษาในอีก 3 สัปดาห์



     ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


                     1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


1.1 พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ ตามลำดับขั้น คือ

1.1.1 ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นขั้นพัฒนาการในช่วงอายุ 0 – 2 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้และการกระทำ เด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางและยังไม่สามารถเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น

1.1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 2 – 7 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่สามารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ การใช้ภาษาแบ่งเป็นขั้นย่อย ๆ 2 ขั้น คือ ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 2 – 4 ปี และขั้นการคิดด้วยความเข้าใจของตนเอง เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 4 – 7 ปี

1.1.3 ขั้นการคิดแบบรูปธรรม เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 7 – 11 ปี เป็นขั้นที่การคิดของเด็กไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กสามารถสร้างภาพในใจและสามารถคิดย้อนกลับได้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขและสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น

1.1.4 ขั้นการคิดแบบนามธรรม เป็นขั้นการพัฒนาในช่วงอายุ 11 – 15 ปี เด็กสามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถคิดตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
              2.ทฤษฎีการเรียนการสอนของบรูเนอร์

1.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
 2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
 3) การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 
4) แรงจูงใจภายใน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 
5) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
 6) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนด้วยตนเอง


2.1 ที่มีประสบการณ์ตรงและสัมผัสได้ เช่น ผู้เรียนรวมของ 4 ชิ้น กับ ของ 5 ชิ้น เพื่อเป็นของ 9 ชิ้น ซึ่งเป็นการสัมผัสกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม

2.2 ระดับของการใช้ภาพเป็นสื่อในการมองเห็น เช่น การใช้รูปภาพ ไดอะแกรม ฟิล์ม ที่เป็นสื่อทางสายตา ตัวอย่างการเรียนรู้ระดับนี้ เช่น ผู้เรียนดูภาพรถ 4 คัน ในภาพแรก ดูภาพรถ 5 คัน ในภาพที่สอง และดูภาพรถรวม 9 คัน ในภาพที่สามซึ่งเป็นภาพรวมของรถในภาพที่หนึ่งและภาพที่สอง รถ 9 คันนี้เกิดจากการที่ผู้สอนวางแผนให้ผู้เรียนเรียนรู้ มิใช่เกิดจากตัวของผู้เรียนเอง

3.3 ระดับของการสร้างความสัมพันธ์และใช้สัญลักษณ์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถเขียนสัญลักษณ์แทนสิ่งที่เห็นในระดับที่สอง หรือสิ่งที่สัมผัสในระดับที่หนึ่งได้ เช่น การเขียน 5 + 4 = 9 เป็นสัญลักษณ์แทนภาพในระดับที่ 2